วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิเคราะห์ช่องทางทำกิน ปี 54 อาชีพใด เด่น - ด้อย


วิเคราะห์ช่องทางทำกิน ปี 54 อาชีพใด เด่น - ด้อย
ดร.จักรกรินทร์ ศรีมูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิเคราะห์แนวโน้มอาชีพในปี 2554
โดยเฉพาะ “เอสเอ็มอี” ว่า... ในปีหน้าพวก “ธุรกิจก่อสร้างไปได้สวย” แต่ต้องขึ้นอยู่กับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย ปีนี้ตัวเลขจีดีพีเพียง 4.55% ถือว่าน้อย ถ้าปีหน้าขึ้นสัก 6% ก่อสร้างจะไปดี ซึ่งจีดีพีโตเร็ว ธุรกิจก่อสร้างก็จะไปได้เร็ว ทำให้ “ร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างได้รับผลดี” ไปด้วย

“ธุรกิจด้านไอที-คอมพิวเตอร์ยังไปได้...แต่ต้องเร็ว” 
เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องปรับตัวเร็ว ต้องเปลี่ยนเร็วมาก บางทีมีซอฟต์แวร์ 2 อาทิตย์ก็ต้องเปลี่ยนมาใหม่ แล้วต้องขายเร็ว มีนวัตกรรมเปลี่ยนรุ่นเรื่อย ๆ ตกรุ่นเร็ว คนก๊อบปี้เร็ว ของออกมาวันสองวันคนก็ก๊อบปี้ออกมาแล้ว เพราะฉะนั้นเราต้องรีบขายให้เร็ว และต้องเปลี่ยนใหม่ให้เร็ว


“ธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร-ขนม และส่งออก...ก็ยังไปได้ดี”
แต่ขึ้นกับช่องทางการกระจายสินค้าตามจุดใหญ่ ๆ ถ้าจะให้ก้าวไกล ซึ่งสำหรับอาหาร...แม้ว่าเศรษฐกิจจะแย่หรือไม่แย่อย่างไรแต่อาหารก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ ธุรกิจร้านอาหารจึงไปได้แน่นอน แต่จะต้องคอยปรับตัวเหมือนกัน เพราะคนไทยเบื่อง่าย อาทิ เปลี่ยนเมนู เปลี่ยนชื่อร้าน ปรับลุคส์ อาจจะดัดแปลงให้ร้านมีบริเวณกว้างขึ้น มีที่จอดรถกว้าง ๆ มีสนามเด็กเล่น ตกแต่งร้านให้ดูทันสมัยมีการใส่ใจลูกค้า ขณะที่ธุรกิจส่งออกนั้นปัญหาอาจจะอยู่ที่ช่องทางการส่งออกบ้าง


“ธุรกิจเกี่ยวกับความรู้ การศึกษา ก็ไปได้ด้วยตัวเอง”
เพราะเศรษฐกิจดีไม่ดีคนก็ต้องเรียนหนังสือ อย่างไรก็ตาม ต่อไปคนไทยจะเหมือนคนต่างประเทศ ถ้ามีเงินก็จะมีเวลาว่างเยอะ ก็คิดที่จะหาเรื่องการออกกำลังกาย โยคะ หาอาหารเสริม วิตามิน เพื่อสุขภาพ ดังนั้น “ธุรกิจด้านสุขภาพจะมีอนาคต”


ขณะที่ “ธุรกิจเกี่ยวกับความงาม-การแสดง ก็ไม่ควรมองข้าม”
อาทิ เครื่องสำอาง ลดน้ำหนัก สปา โรงเรียนสอนการแสดง ซึ่งสำหรับเรื่องความงามนั้นเป็นค่านิยมทั่วโลก อีกอย่างคนเราพอมีเงินมากขึ้นก็อยากสบาย อยากทำอะไรให้ตัวเองดูดี หรือเพื่อความสุนทรีย์ ธุรกิจที่ทำเงินหลังเลิกงาน กิจกรรมต่าง ๆ จึงมีมากขึ้นเรื่อย ๆ


“ธุรกิจผับ-บาร์ก็น่าจะยังไปรอด” เพราะเมืองไทยเป็นเมืองเที่ยวอยู่แล้ว คนไทยเป็นคนเที่ยวเก่ง ธุรกิจนี้จึงไปได้รอด เพียงแต่จะต้องคอยปรับ คอยเปลี่ยน เพื่อให้ไม่ซ้ำซาก


“ปัจจุบันเอสเอ็มอีไทยไม่ควรคิดเพียงแค่ในบ้านแล้ว เช่น เครื่องถ้วยของอยุธยา ตอนนี้คนที่ทำไม่มีคนสืบทอด เราต้องไปจ้างไปเปิดโรงงานที่ลาว ไปสอนเทคนิคให้เขา แล้วก็มีการส่งออกเป็นของคนไทย ก็เหมือนที่ญี่ปุ่นมาทำโทรทัศน์ที่เมืองไทยส่งออกเป็นโทรทัศน์ญี่ปุ่น ก็เหมือนกัน ต้องคิดออกไปมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าเราคิดแค่ตรงนี้เราก็จะอยู่แค่ตรงนี้ แล้วมันก็จะอยู่ไม่รอด เพราะการออกไปข้างนอกมันได้ไอเดียใหม่ ๆ ยิ่งขึ้น ตรงนี้ต้องคิดกว้าง ๆ ต้องหาตลาดต้องหาคู่แข่งให้เป็น” ...ดร.จักรกรินทร์ให้มุมมอง

ก่อนจะระบุทิ้งท้ายว่า... “อย่างไรก็ตาม ปีหน้าธุรกิจที่อาจจะเป็นดาวร่วง น่าจะเป็นธุรกิจส่งออกที่จะมีปัญหาเพราะเงินบาทแข็งตัว ธุรกิจที่อิงราคาเป็นหลักจะมีปัญหา เช่น สินค้าพื้นบ้าน หรือโอทอป ที่แบรนด์ยังไม่เกิด เพราะตอนนี้สินค้าจากจีนบุกเข้ามาทำตลาดมาก ๆ”



ผศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ว่า... ปี 2549 ที่กำลังจะผ่านไป ยังไม่เห็นว่ามีธุรกิจใดเป็นดาวเด่น-ธุรกิจใดเป็นดาวร่วงจริง ๆ เลย เพราะทุกอย่างคงอยู่ในสภาพเดิม ๆ กันหมด

แต่ “ธุรกิจที่น่าจะไปได้ดีในปี 2554 คือธุรกิจการค้าวัสดุก่อสร้าง” 
เพราะช่วงปลายปีนี้เกิดน้ำท่วมมาก ดังนั้น ช่วงปลายปีถึงปีหน้าอาจจะมีการปรับปรุงบ้าน ซ่อมบ้าน สร้างบ้านกันมาก ซึ่งธุรกิจค้าขายอุปกรณ์ก่อสร้าง รวมไปถึง “ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างน่าจะได้รับอานิสงส์” ตรงจุดนี้


“ธุรกิจอาหาร
ถ้าเป็นเอสเอ็มอีที่มีการบริหารจัดการที่ดีอยู่แล้วจะดีต่อเนื่อง” เพราะร้านอาหารจะประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับฝีมือ และกำไรหรือไม่กำไรนั้นขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของเจ้าของร้าน

ธุรกิจเอสเอ็มอีนั้นจะต้องเข้าง่าย-ออกง่าย และผู้ประกอบการต้องมีความรู้ ความชำนาญ และใจรัก แต่ถ้าทำเพราะตามกระแสอยากมีธุรกิจของตนเองก็คงลำบาก เพราะมีบทเรียนมาให้เห็นมากต่อมากแล้ว


“ธุรกิจขายโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ ยังน่าสนใจอยู่”
เพราะตลาดมาร์จิ้นยังกว้าง และมีเทคโนโลยีใหม่เข้าเรื่อย ๆ และการบริหารจัดการไม่มีอะไรซับซ้อน ดังนั้นก็ยังน่าจะไปได้เรื่อย ๆ แต่คงไม่หวือหวาเหมือนในอดีต


“ส่วนธุรกิจที่ดร็อปลงนั้น ก็มีค้าปลาสวยงามที่เคยเฟื่องฟู ธุรกิจค้าปลีกที่แนวโน้มตกลงหมดแล้ว ธุรกิจร้านกาแฟ ร้านเบเกอรี่ ที่เคยเฟื่องฟูตามกระแสตอนนี้เริ่มนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว เพราะเข้าใจว่าโอเวอร์ซัพพลาย (ปริมาณมากกว่าความต้องการ) เช่นเดียวกับธุรกิจสปาที่เคยเฟื่องฟูตามนโยบายของรัฐที่ต้องการโปรโมต ปัจจุบันก็ไม่มีอะไร หรือธุรกิจปั๊มน้ำมันที่เคยรุ่ง ปัจจุบันเมื่อน้ำมันราคาแพง ปั๊มเล็ก ปั๊มน้อย ก็ทยอยปิดตัวลง” ...ผศ.วิทวัสกล่าว


ผศ.ดร.ศุภณัฐ ชูชินปราการ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ร่วม วิเคราะห์แนวโน้มอาชีพในปี 2550 แล้วแจกแจงว่า... ปีที่ผ่านมามีปัญหาหลายอย่าง ทั้งในเรื่องการเมือง ภัยพิบัติ น้ำมันแพงส่งผลกระทบให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การลงทุนก็ยังชะลอ คนก็ยังชะลอเรื่องการจับจ่ายใช้สอย เพราะข้าวของขึ้นราคา ดังนั้น กระแสในปีหน้าก็ยังคงเป็นแบบนี้ต่อเนื่องต่อไปเรื่อย ๆ

แต่ “ธุรกิจเอสเอ็มอีที่ดีคือพวกอาหาร ของกินของใช้ที่จำเป็น” 
เพราะคนต้องใช้ในชีวิตประจำวัน หรืออาจจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับแฟรนไชส์อาหาร ซึ่งอาหารของสดน่าจะไปได้ดี และอาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูปก็น่าจะไปได้ดีด้วย เพราะว่ามันก็จำเป็นสำหรับคนยุคนี้


“ธุรกิจพวกไอที คอมพิวเตอร์-โทรศัพท์มือถือพอไปได้”
โดยลูกค้าจะเป็นแค่บางกลุ่ม ถ้ากลุ่มวัยรุ่นอาจจะซื้อ แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่แล้วอาจจะคิดก่อน ยังไม่รีบ ยังไม่ต้องเปลี่ยน ใช้ได้ก็ใช้ไปก่อน


“ธุรกิจการศึกษายังคงไปได้ด้วยตัวของมันเอง”
อย่างเช่นโรงเรียนกวดวิชา พ่อแม่ก็ให้ลูกไปเรียน ธุรกิจมันก็ไปได้ด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว


“พวกของกินของใช้ของที่มันออกในเชิงฟุ่มเฟือย ยอดขายจะลดลง ของที่ค่อนข้างจะรอได้ ไม่ต้องรีบซื้อ ของฟุ่มเฟือย ของที่ไม่จำเป็น อาทิ พวกเครื่องหนัง เครื่องประดับ จะชะลอตัว ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องเน้นเรื่องการควบคุมต้นทุนให้ดี ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นต้องตัด ต้องบริหารงานอย่างมี

ประสิทธิภาพ เน้นผลกำไรระยะยาว ไม่เน้นผลกำไรระยะสั้น ต้องรักษาคุณภาพให้ดี เอสเอ็มอีต้องพยายามศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา โลกเปลี่ยน สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน ก็ต้องตามให้ทัน แล้วนำมาปรับประยุกต์ใช้กับการบริหารงานของตัวเอง สินค้าบริการของตัวเองต้องตามให้ทัน” ...ผศ.ดร.ศุภณัฐระบุ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น